วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

                                     วัฒนธรรมกับภาษา        
        วัฒนธรรม มาจากคำว่า "วัฒน" หมายถึง ความเจริญงอกงาม "ธรรม" หมายถึง คุณงามความดีที่
เจริญงอกงามอันนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมีแบบแผนในการประพฤติและปฏิบัติพลตรีพระ
         บรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธทรงบัญญัติจากคำภาษาอังกฤษว่า Culture วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคมที่สืบทอดความรู้ความคิดและความเชื่อถือซึ่งเป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความมีระเบียบแบบแผน ความสามัคคีและมีศีลธรรมที่แสดงลักษณะเฉพาะตัวเอาไว้ ที่เรียกว่า เอกลักษณ์4
         ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม
1.ประเพณี หมายถึง พฤติกรรมที่เคยกระทำมาแต่บรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงขั้นลูกหลาน
2.ค่านิยม หมายถึง ความรู้สึกพอใจ ความภาคภูมิใจหรือความรังเกียจที่มีต่อการกระทำใดๆหรือ
พฤติกรรมใด ซึ่งค่านิยมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา

3.คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งพึงได้รับการปลูกฝังหรือได้เห็นจากสิ่งแวด
ล้อม คุณธรรมจะแสดงออกในรูปพฤติกรรมจะไม่ปรากฏหรือแสดงออกเป็นรูปลักษณ์

4.สถาบัน หมายถึง องค์การที่รับผิดชอบเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ ใช้ใน ความหมายทางวิชา
การว่ากฏเกณฑ์และประเพณีเกี่ยวเนื่องของหมู่ชน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะ เช่น สถาบันชาติ
สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว เป็นต้น

5.เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคล หรือหมู่คณะที่เหมือนกัน เช่น
ภาษาไทย เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย
       
 เอกลักษณ์ของชาติไทยมีลักษณะดังนี้1
.ความไม่หวงแหนสิทธิ
2.เสรีภาพทางศาสนา
3.ความรักสงบ
4.ความพอใจในการประนอม
5.การไม่แบ่งชั้นวรรณะ
6.สังคม หมายถึง กลุ่มที่ชุมชนอยู่ในที่เดียวกันหรืออาจมีความหมายเป็นนามธรรม หมายถึง
ความนึกคิดรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่งๆก็ได้

สาเหตุที่วัฒนธรรมของชนต่างหมู่ต่างเหล่าแตกต่าง
1.ที่ตั้ง
2.ภูมิอากาศ
3.ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น
4.กลุ่มชนแวดล้อม

ลักษณะของภาษาไทยที่ควรสังเกต
1. นิยมใช้คำสัมผัสคล้องจองกัน
2. มีคำที่แสดงฐานะบุคคลตามวัฒนธรรมไทย คือพระมหากษัตริย์ พระภิกษุ พระบรมวงศานุวงศ์
สุภาพชน ซึ่งการใช้ภาษาก็จะแตกต่างลดหลั่นกันตามฐานะของแต่ละบุคคล
3. ภาษาไทยใช้คำไทยแท้ ซึ่งเป็นพยางค์เดียวโดดๆต่อมาได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น จึงเปลี่ยน
แปลงการใช้คำ แต่ยังคงใช้คำไทยแท้ในภาษาพูด เช่น บุตร ใช้แทน ลูก บิดามารดา ใช้แทน พ่อ, แม่ เป็น
ต้น

4. ภาษาไทย แสดงลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับรสอาหาร เช่น รสหวาน รสขม รสจืด
5. ภาษาไทยมีคำที่มีความหมายเฉพาะสื่อสารเป็นที่เข้าใจ
ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม
ภาษาถิ่นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้แบ่งวัฒนธรรมเป็น 4 สาขาดังนี้
1.วัฒนธรรมทางคติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในเรื่องจิตใจและศาสนา
2.วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางกฎ ระเบียบประเพณี กฎหมายที่ยอมรับนับถือกัน
3.วัฒนธรรมทางวัตถุธรรม เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การกินดีอยู่ดี
4.วัฒนธรรมทางสหธรรม เป็นวัฒนธรรมทางสังคมเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ
กัน รวมทั้งระเบียบมารยาทที่จะติดต่อกันเกี่ยวกับสังคมอีกด้วย

6 ความคิดเห็น: