ธรรมชาติของภาษา
1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย ซึ่งต้องประกอบด้วยหน่วยเสียง ( เป็นหน่วยในภาษา ) และความหมาย
ความหมายของภาษามี 2 อย่าง คือ
1. ความหมายอย่างกว้าง ภาษา หมายถึง การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายโดยมีระบบกฎเกณฑ์
เข้าใจกันระหว่างสองฝ่าย อาจจะเป็นการแสดงออกทางเสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง และอาจ
เป็นการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์ก็ได้
2. ความหมายอย่างแคบ ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย
2. เสียงกับความหมายมีความสัมพันธ์กัน มีสาเหตุเกิดจากการเลียนเสียงจากธรรมชาติ เช่น
1. เกิดจากการเลียงเสียงจากสิ่งต่าง ๆ เช่น เพล้ง , โครม , ปัง เป็นต้น
2. เกิดจากการเลียนเสียงของสัตว์ เช่น แมว , ตุ๊กแก
3. เกิดจากการเลียนเสียงจากสิ่งสิ่งนั้น เช่น หวูด , ออด
4. เกิดจากเสียงสระหรือพยัญชนะที่มีความสัมพันธ์กับความหมาย เช่น เซ , เป๋ มีความหมายว่า ไม่
ตรง (แต่เป็นเพียงส่วนน้อยในภาษาเท่านั้น)
5. ภาษาถิ่นบางถิ่นจะมีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย เช่น สระเอาะ หรือ ออ ภาษาถิ่นบางถิ่นจะบอก
ความหมายว่าเป็นขนาดเล็ก ดังเช่น จ่อว่อ หมายถึง เล็ก , โจ่โว่ หมายถึง ใหญ่ เป็นต้น
3. เสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน เช่น เด็ก น้อย เดิน เสียงจะไม่สัมพันธ์กัน แต่เราก็รู้ว่า "เด็ก"
หมายถึง คนที่มีอายุน้อย "น้อย" หมายถึง เล็ก และ "เดิน" หมายถึง การยกเท้าก้าวไป เป็นการตกลงกัน
ของคนที่ใช้เสียงนั้น ๆ ว่าจะให้มีความหมายเป็นอย่างไร
4. หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นพยางค์ที่ใหญ่ขึ้นหน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบของภาษา ได้แก่ เสียง คำ และประโยค ซึ่งเราสามารถนำ
เสียงที่มีอยู่อย่างจำกัดมาสร้างคำได้เพิ่มขึ้น และนำคำมาสร้างเป็นประโยคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น ฉันกิน
ข้าว อาจจะเพิ่มคำเป็น "ฉันกินข้าวผัดกะเพรา" เป็นต้น
5. ภาษามีการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุ ดังนี้
1. การพูดจาในชีวิตประจำวัน
- การกร่อนเสียงพยางค์หน้า เช่น หมากขาม เป็น มะขาม สาวใภ้ เป็นสะใภ้
- ตัวอัพภาส เป็นการตัดเสียง หรือ การกร่อนจากตัวที่ซ้ำกัน เช่น ยับยับ เป็น ยะยับ
วิบวิบ เป็น วะวิบ รี่รี่ เป็น ระรี่
- การกลมกลืนของเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง ดิฉัน เป็น เดี๊ยน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง
2. อิทธิพลของภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษจะมีอิทธิพลมากที่สุด มีการยืมคำ และประโยคมาใช้ทำ
2
ให้เป็นเกิดเป็นสำนวนต่างประเทศ และมีการดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับลักษณะภาษาไทย
3. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น กระบวนการความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น
เป็นสาเหตุให้เกิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ตามมามากขึ้นตามยุคตามสมัยปัจจุบัน ส่วนคำที่ใช้มาแต่เดิม
อาจจะสูญหายไปซึ่งคนสมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก เช่น ดงข้าว หรือ เกิดศัพท์ใหม่แทนของเก่า เช่น
ถนน เป็น ทางด่วน บ้าน เป็น คอนโด ทาวเฮาส์ ฯลฯ
4. การเรียนภาษาของเด็ก ภาษาของเด็กเมื่อเริ่มเรียนรู้ภาษาเด็กจะปรุงเป็นภาษาของเด็กเอง ซึ่งไม่
เหมือนกับภาษาของผู้ใหญ่ ใช้คำไม่ตรงกัน ออกเสียงไม่ตรงกัน ความหมายจึงไม่ตรงกับผู้ใหญ่
เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะสืบทอดภาษาต่อไปได้อีกทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปได้
6. ลักษณะที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของภาษา
ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย มีทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ
2. มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ได้แก่ คำประสม , คำซ้ำ
3. มีสำนวน มีการใช้คำในความหมายเดียวกัน
4. มีคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย
5. สามารถขยายประโยคเพื่อให้ยาวออกไปเรื่อย ๆ ได้
6. มีการแสดงความคิดต่าง ๆ เช่น ประโยคคำถาม ประโยคคำตอบ ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำสั่ง
7. สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ลักษณะที่แตกต่างกัน
1. เสียงในภาษาอังกฤษมีเสียง G , Z แต่ในภาษาไทยไม่มี
2. ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ในประโยค ส่วนภาษาอื่นไม่มี
3. ไวยากรณ์ ภาษาไทยเรียงประโยคจาก ประธาน + กริยา + กรรม แต่ภาษาอื่นเรียงสลับกันได้
7. ลักษณะของภาษาในการสื่อสาร
1. วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร
2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร ได้แก่- กริยา ท่าทาง สีหน้า สายตา เสียง(ปริภาษา)
- สัญญาณ สัญลักษณ์ (รวมถึงอักษร)
- การสัมผัส (ผัสภาษา/สัมผัสภาษา)
- ลักษณะทางกายภาพ(ภาษาวัตถุ/กายภาษา)
- ระยะห่าง(เทศภาษา)
- เวลา(กาลภาษา)
- กลิ่น รส ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร
1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย ซึ่งต้องประกอบด้วยหน่วยเสียง ( เป็นหน่วยในภาษา ) และความหมาย
ความหมายของภาษามี 2 อย่าง คือ
1. ความหมายอย่างกว้าง ภาษา หมายถึง การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายโดยมีระบบกฎเกณฑ์
เข้าใจกันระหว่างสองฝ่าย อาจจะเป็นการแสดงออกทางเสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง และอาจ
เป็นการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์ก็ได้
2. ความหมายอย่างแคบ ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย
2. เสียงกับความหมายมีความสัมพันธ์กัน มีสาเหตุเกิดจากการเลียนเสียงจากธรรมชาติ เช่น
1. เกิดจากการเลียงเสียงจากสิ่งต่าง ๆ เช่น เพล้ง , โครม , ปัง เป็นต้น
2. เกิดจากการเลียนเสียงของสัตว์ เช่น แมว , ตุ๊กแก
3. เกิดจากการเลียนเสียงจากสิ่งสิ่งนั้น เช่น หวูด , ออด
4. เกิดจากเสียงสระหรือพยัญชนะที่มีความสัมพันธ์กับความหมาย เช่น เซ , เป๋ มีความหมายว่า ไม่
ตรง (แต่เป็นเพียงส่วนน้อยในภาษาเท่านั้น)
5. ภาษาถิ่นบางถิ่นจะมีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย เช่น สระเอาะ หรือ ออ ภาษาถิ่นบางถิ่นจะบอก
ความหมายว่าเป็นขนาดเล็ก ดังเช่น จ่อว่อ หมายถึง เล็ก , โจ่โว่ หมายถึง ใหญ่ เป็นต้น
3. เสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน เช่น เด็ก น้อย เดิน เสียงจะไม่สัมพันธ์กัน แต่เราก็รู้ว่า "เด็ก"
หมายถึง คนที่มีอายุน้อย "น้อย" หมายถึง เล็ก และ "เดิน" หมายถึง การยกเท้าก้าวไป เป็นการตกลงกัน
ของคนที่ใช้เสียงนั้น ๆ ว่าจะให้มีความหมายเป็นอย่างไร
4. หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นพยางค์ที่ใหญ่ขึ้นหน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบของภาษา ได้แก่ เสียง คำ และประโยค ซึ่งเราสามารถนำ
เสียงที่มีอยู่อย่างจำกัดมาสร้างคำได้เพิ่มขึ้น และนำคำมาสร้างเป็นประโยคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น ฉันกิน
ข้าว อาจจะเพิ่มคำเป็น "ฉันกินข้าวผัดกะเพรา" เป็นต้น
5. ภาษามีการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุ ดังนี้
1. การพูดจาในชีวิตประจำวัน
- การกร่อนเสียงพยางค์หน้า เช่น หมากขาม เป็น มะขาม สาวใภ้ เป็นสะใภ้
- ตัวอัพภาส เป็นการตัดเสียง หรือ การกร่อนจากตัวที่ซ้ำกัน เช่น ยับยับ เป็น ยะยับ
วิบวิบ เป็น วะวิบ รี่รี่ เป็น ระรี่
- การกลมกลืนของเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง ดิฉัน เป็น เดี๊ยน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง
2. อิทธิพลของภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษจะมีอิทธิพลมากที่สุด มีการยืมคำ และประโยคมาใช้ทำ
2
ให้เป็นเกิดเป็นสำนวนต่างประเทศ และมีการดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับลักษณะภาษาไทย
3. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น กระบวนการความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น
เป็นสาเหตุให้เกิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ตามมามากขึ้นตามยุคตามสมัยปัจจุบัน ส่วนคำที่ใช้มาแต่เดิม
อาจจะสูญหายไปซึ่งคนสมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก เช่น ดงข้าว หรือ เกิดศัพท์ใหม่แทนของเก่า เช่น
ถนน เป็น ทางด่วน บ้าน เป็น คอนโด ทาวเฮาส์ ฯลฯ
4. การเรียนภาษาของเด็ก ภาษาของเด็กเมื่อเริ่มเรียนรู้ภาษาเด็กจะปรุงเป็นภาษาของเด็กเอง ซึ่งไม่
เหมือนกับภาษาของผู้ใหญ่ ใช้คำไม่ตรงกัน ออกเสียงไม่ตรงกัน ความหมายจึงไม่ตรงกับผู้ใหญ่
เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะสืบทอดภาษาต่อไปได้อีกทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปได้
6. ลักษณะที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของภาษา
ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย มีทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ
2. มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ได้แก่ คำประสม , คำซ้ำ
3. มีสำนวน มีการใช้คำในความหมายเดียวกัน
4. มีคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย
5. สามารถขยายประโยคเพื่อให้ยาวออกไปเรื่อย ๆ ได้
6. มีการแสดงความคิดต่าง ๆ เช่น ประโยคคำถาม ประโยคคำตอบ ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำสั่ง
7. สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ลักษณะที่แตกต่างกัน
1. เสียงในภาษาอังกฤษมีเสียง G , Z แต่ในภาษาไทยไม่มี
2. ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ในประโยค ส่วนภาษาอื่นไม่มี
3. ไวยากรณ์ ภาษาไทยเรียงประโยคจาก ประธาน + กริยา + กรรม แต่ภาษาอื่นเรียงสลับกันได้
7. ลักษณะของภาษาในการสื่อสาร
1. วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร
2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร ได้แก่- กริยา ท่าทาง สีหน้า สายตา เสียง(ปริภาษา)
- สัญญาณ สัญลักษณ์ (รวมถึงอักษร)
- การสัมผัส (ผัสภาษา/สัมผัสภาษา)
- ลักษณะทางกายภาพ(ภาษาวัตถุ/กายภาษา)
- ระยะห่าง(เทศภาษา)
- เวลา(กาลภาษา)
- กลิ่น รส ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร
เยี่ยม
ตอบลบรู้ไปหมด
ตอบลบชอบมากๆๆ
ตอบลบชอบมากๆ
ตอบลบดีมากๆค่ะ
ตอบลบดี
ตอบลบ