วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

                  ประโยคฟุ่มเฟือย ประโยคกำกวม ประโยคสำนวนต่างประเทศ
ประโยคฟุ่มเฟือย คือ ประโยคที่มีส่วนขยายมากเกินความจำเป็น(ไม่ใช่ประโยคยาวที่สุดใน
ตัวเลือก) เช่น เขาส่งเสียงดังอึกทึกครึกโครม แก้เป็น เขาส่งเสียงดัง

ประโยคกะทัดรัด คือ ประโยคที่มีส่วนขยายพอเหมาะ ได้ใจความชัดเจน(ไม่ใช่ประโยคสั้นที่สุดใน
ตัวเลือก
)
ประโยคกำกวม มีลักษณะดังนี้
1. ใช้คำขยายผิดที่ เช่น เขาไปเยี่ยมเพื่อนที่เพิ่งแต่งงานกับน้องของเขา
***ผู้ ที่ ซึ่ง อัน อยู่หลังคำไหน มักขยายคำนั้น***
2. ใช้กลุ่มคำหรือคำประสมที่อาจเป็นประโยคได้ เช่น คนขับรถไปตั้งแต่เช้า คน-ขับ-รถไป
ตั้งแต่เช้า
3. ใช้คำที่มีหลายความหมาย(พ้องรูปพ้องเสียง) เช่น ฉันไม่ชอบมัน
4. การเว้นวรรคไม่ถูกต้อง เช่น เขาให้เงิน คนจนหมดตัว เขาให้เงินคน จนหมดตัว

ประโยคสำนวนต่างประเทศ มีลักษณะดังนี้
1. มันเป็น+………… เช่น มันเป็นอะไรที่
2. ถูก+กริยา+คำบุพบท เช่น ฉันถูกตีโดยแม่
3. จำนวนนับ+นาม เช่น 3 โจร 4 เหรียญเงิน
4. กริยา+ ซึ่ง + กรรม เช่น กินซึ่งอาหาร
5. มี ใน ให้ ทำ + การ/ความ
6. การ/ความ+คำกริยา (ทำกริยาให้เป็นนาม) เช่น ความสนใจของเขา (เขาสนใจ)
7. สั่งเข้า นำเข้า ส่งออก +นาม

ข้อบกพร่องในการใช้ประโยค
1. การใช้คำขัดแย้งกัน
2. การใช้คำผิดความหมาย
3. การใช้สำนวนเปรียบเทียบผิด
4. การใช้สำนวนต่างประเทศ
5. การใช้คำฟุ่มเฟือย
6. การใช้ประโยคกำกวม
7. การใช้ประโยคไม่สมบูรณ์
8. การใช้ภาษาผิดระดับ
9. การวางส่วนขยายผิดที่
10.การเว้นวรรคตอนผิด
การสังเกตคำไทยและคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย ภาษาเขมร
1. สะกดตรงตามมาตรา 1. มักสะกดด้วย ญ ส ร จ ล
2. มักเป็นคำพยางค์เดียว 2. มักเป็นคำแผลง อักษรนำ
3. มีลักษณนาม 3. เดิมถ้ามีคำว่าประนำหน้า จะแผลงเป็น
4. ไม่มีการันต์ บรร
5. ไม่นิยมคำควบกล้ำ(ยกเว้นศัพท์พื้นฐาน) 4. นิยมคำควบกล้ำ
6. มีคำพ้องรูปพ้องเสียง 5. มักเป็นคำราชาศัพท์
7. มีการใช้วรรณยุกต์

ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
1. มีสระ 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ 1. มีสระ 14 ตัว เพิ่ม ไ เ-า ฤ ฤา ฦ ฦา
2. มีพยัญชนะ 33 ตัว 2. มีพยัญชนะ 35 ตัว เพิ่ม ศ ษ
3. นิยม ฬ 3. ไม่นิยม ฬ จะใช้ ฑ แทน
4.ไม่นิยม รร 4. นิยม รร
5. ส นำหน้าวรรค อื่น 5. ส นำหน้า วรรค ตะ
6. ไม่นิยมคำควบกล้ำ(ในคำคู่)-นิยมอักษรคู่กัน 6. นิยมคำควบกล้ำ
7. มีหลักตัวสะกดตัวตาม 7. ไม่มีหลักตายตัวแน่นอน

***คำเติมหน้าในภาษาเขมร-ข ถ ตำ กำ บัง ทำ ประ จำ กระ บัน สำ บำ ผ บรร***
ตัวอย่างคำบาลีที่เจอบ่อยๆ ตัวอย่างคำสันสกฤตที่เจอบ่อยๆ
ขัตติยะ กษัตริย์ บุปผา บุษบา
สิกขา ศึกษา สิริ ศรี
วิชชา วิทยา อัจฉริยะ อัศจรรย์
มัจฉา มัตสยา ปกติ ปรกติ
ภิกขุ ภิกษุ รังสี รัศมี
สามี สวามี ปัญญา ปรัชญา
ภริยา ภรรยา ปฐม ประถม

ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษาเขมร
1. มักสะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส เช่น
เผด็จ เสด็จ เสร็จ โสรจสรง ตรวจ ผจัญ
ผจญ เจริญ เผชิญ บำเพ็ญ ตระการ สระ
ระเมียร เมิล กำนัล ตำบล ตรัส กบาล
กังวาน ควาญ ทูล **เดิน** **เชิง**

2. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย
แข เพ็ญ สอ(คอ) เรียม เนา ดล
ได ศก เมิล จาร ทูล แด
ควร จง จอง อวย แมก แสะ
มาศ ทอ (ด่า) กาจ เฌอ

3. เป็นศัพท์ที่ใช้พยัญชนะควบกล้ำ อักษรนำ
สนาม ไผท ขนง ผอบ สนุก ไถง
แถง เขนย เสด็จ พนม ขนน มนิมนา
แสดง สไบ สบง ชไม ฉนวน เฉนียน
พเยีย ขมัง ถนน ฉนวน เขม่า ขจี
ขยอก แสวง เสน่ง ฉบัง เฉลียง สดับ
สนับเพลา โขมด ฉลอง สดำ โฉนด เฉวียน
เฉลา สลา เสนียด ฉบับ สงัด ทรวง
กราบ ทรง กริ้ว ตรง ตระโมจ โปรด
ตะโบม เพลิง ประนม กระยา ประดุจ ผลาญ
ขลาด ขลัง เสน่ง โขลน เขลา ผกา
ประกายพรึก ขมอง ฉนำ ไพร ไพล

4. มักแผลงคำได้ เช่น แผลง ข เป็น กระ
ขจาย - กระจาย ขจอก - กระจอก แขส - กระแส
ขทง - กระทง ขดาน - กระดาน ขจัด - กระจัด
ขม่อม - กระหม่อม ขโดง - กระโดง เขทย - กระเทย
แผลง ผ เป็น ประ- บรร
ผจง - ประจง, บรรจง ผจบ - ประจบ, บรรจบ
ผทม - ประทม, บรรทม ผสาน - ประสาน, บรรสาน
ผสม - ประสม, บรรสม ผองค์ - ประองค์, บรรองค์
เผชิญ - ประเชิญ ผดุง - ประดุง
ลาญ - ผลาญ, ประลาญ แผก - แผนก
ผทับ - ประทับ เผดิม - ประเดิม
ผชุม - ประชุม ผจาน - ประ
คับ - บังคับ บัด - บำบัด ตาล - บันดาล
ปราศ - บำราศ ปรุง - บำรุง

แผลงเป็น -°า
เกตา - กำเดา ขลัง - กำลัง จง - จำนง
แหง - กำแหง ทํรง - ธำมรงค์ เถกิง - ดำเกิง
ดกล - ดำกล อาจ - อำนาจ เถลิง - ดำเลิง
ขจร - กำจร สรวล - สำรวล เสวย - สังเวย
ถวาย - ตังวาย ฉัน - จังหัน กราบ - กำราบ
เสร็จ - สำเร็จ ตรัส - ดำรัส ตริ - ดำริ
ตรวจ - ตำรวจ ตรง - ดำรง ตรับ - ตำรับ
ติ - ตำหนิ ชาญ - ชำนาญ พัก - พำนัก
ทลาย - ทำลาย เทียบ - ทำเนียบ ทูล - ทำนูล

ภาษาญี่ปุ่นในภาษาไทยคำยืมมาจากภาษาญี่ปุ่น คำแปล
กิโมโน เสื้อชุดประจำชาติญี่ปุ่น
เกอิชา หญิงต้อนรับ หญิงให้บริการ
คามิคาเซ่ ทหารหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น
คาราเต้ ศิลปะการต่อสู้ด้วยสันหรือนิ้วมือ
เค็นโด้ ศิลปะการต่อสู้ด้วยไม้
ซามูไร ทหารอาชีพ เดิมพวกนี้ใช้มีดดาบเป็นอาวุธ
ซูโม มวยปล้ำ
ปิยาม่า เสื้อคลุมแบบญี่ปุ่น
ยูโด วิชาการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่ง
โยชิวารา วิชาการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่ง
ยิวยิตสู วิชายืดหยุ่นป้องกันตัวอีกแบบหนึ่ง
สาเกะ, สาเก สุรากลั่นจากข้าว ประมาณ 11 – 14 ดีกรี
สุกี้ยากี้ ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง
ปิ่นโต ภาชนะใส่อาหาร
กำมะลอ การลงรักแบบญี่ปุ่น
หักขะม้า ผ้านุ่มคล้ายผ้าขาวม้า

ภาษาโปรตุเกสในภาษาไทย
ภาษาโปรตุเกส คำแปล ภาษาโปรตุเกส คำแปล
กะละแม ขนมชนิดหนึ่ง กัมประโด ผู้ซื้อ
กะละมัง ภาชนะใส่ของ กระจับปิ้ง เครื่องปิดบังอวัยวะเพศ
จับปิ้ง กระจับปิ้ง บาทหลวง นักบวชในศาสนาคริสต์-
ปัง ขนมชนิดหนึ่ง นิกายโรมันคาธอลิก
เลหลัง ขายทอดตลาด ปั้นเหน่ง เข็มขัด
สบู่ ครีมฟอกตัว ปิ่นโต ภาชนะใส่ของ
เหรียญ โลหะกลมแบน หลา มาตราส่วนความยาว
กระดาษ (กราตัส)

คำภาษาฝรั่งเศสในภาษาไทยภาษาฝรั่งเศส คำแปล ภาษาฝรั่งเศส คำแปล
กะปิตัน นายเรือ กิโล จำนวนพัน
โก้เก๋ สวยเข้าทีจนอวดได้ กรัม หน่วยน้ำหนักชนิดหนึ่ง
กงสุล พนักงานดูแล ข้าวแฝ่ กาแฟ
ผลประโยชน์ของรัฐบาล
บูเกต์ ช่อดอกไม้ คิว การเรียงลำดับก่อนหลัง
ปาร์เกต์ ไม้อัดพื้น โชเฟอร์ คนขับรถยนต์
รูจ สีทาปากแก้ม บุฟเฟ่ต์ อาหารที่บริการตัวเอง
มองซิเออร์ นาย (คำนำหน้าชื่อ) เมตร มาตราวัดความยาว
กุฎไต เสื้อ ลิตร มาตราตวงจำนวนหนึ่ง
คาเฟ่ กาแฟ เรสเตอรองต์ ภัตตาคาร
ครัวซองท์ ขนมชนิดหนึ่ง บาทหลวง นักบวชศาสนาคริสต์
โชบองต์ ขนมชนิดหนึ่ง เมอแรง ขนมชนิดหนึ่ง
บูเช่ ขนมชนิดหนึ่ง อาวัล การรับประกันการใช้เงิน
ตามตั๋วเงิน
                                     วัฒนธรรมกับภาษา        
        วัฒนธรรม มาจากคำว่า "วัฒน" หมายถึง ความเจริญงอกงาม "ธรรม" หมายถึง คุณงามความดีที่
เจริญงอกงามอันนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมีแบบแผนในการประพฤติและปฏิบัติพลตรีพระ
         บรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธทรงบัญญัติจากคำภาษาอังกฤษว่า Culture วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคมที่สืบทอดความรู้ความคิดและความเชื่อถือซึ่งเป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความมีระเบียบแบบแผน ความสามัคคีและมีศีลธรรมที่แสดงลักษณะเฉพาะตัวเอาไว้ ที่เรียกว่า เอกลักษณ์4
         ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม
1.ประเพณี หมายถึง พฤติกรรมที่เคยกระทำมาแต่บรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงขั้นลูกหลาน
2.ค่านิยม หมายถึง ความรู้สึกพอใจ ความภาคภูมิใจหรือความรังเกียจที่มีต่อการกระทำใดๆหรือ
พฤติกรรมใด ซึ่งค่านิยมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา

3.คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งพึงได้รับการปลูกฝังหรือได้เห็นจากสิ่งแวด
ล้อม คุณธรรมจะแสดงออกในรูปพฤติกรรมจะไม่ปรากฏหรือแสดงออกเป็นรูปลักษณ์

4.สถาบัน หมายถึง องค์การที่รับผิดชอบเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ ใช้ใน ความหมายทางวิชา
การว่ากฏเกณฑ์และประเพณีเกี่ยวเนื่องของหมู่ชน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะ เช่น สถาบันชาติ
สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว เป็นต้น

5.เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคล หรือหมู่คณะที่เหมือนกัน เช่น
ภาษาไทย เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย
       
 เอกลักษณ์ของชาติไทยมีลักษณะดังนี้1
.ความไม่หวงแหนสิทธิ
2.เสรีภาพทางศาสนา
3.ความรักสงบ
4.ความพอใจในการประนอม
5.การไม่แบ่งชั้นวรรณะ
6.สังคม หมายถึง กลุ่มที่ชุมชนอยู่ในที่เดียวกันหรืออาจมีความหมายเป็นนามธรรม หมายถึง
ความนึกคิดรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่งๆก็ได้

สาเหตุที่วัฒนธรรมของชนต่างหมู่ต่างเหล่าแตกต่าง
1.ที่ตั้ง
2.ภูมิอากาศ
3.ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น
4.กลุ่มชนแวดล้อม

ลักษณะของภาษาไทยที่ควรสังเกต
1. นิยมใช้คำสัมผัสคล้องจองกัน
2. มีคำที่แสดงฐานะบุคคลตามวัฒนธรรมไทย คือพระมหากษัตริย์ พระภิกษุ พระบรมวงศานุวงศ์
สุภาพชน ซึ่งการใช้ภาษาก็จะแตกต่างลดหลั่นกันตามฐานะของแต่ละบุคคล
3. ภาษาไทยใช้คำไทยแท้ ซึ่งเป็นพยางค์เดียวโดดๆต่อมาได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น จึงเปลี่ยน
แปลงการใช้คำ แต่ยังคงใช้คำไทยแท้ในภาษาพูด เช่น บุตร ใช้แทน ลูก บิดามารดา ใช้แทน พ่อ, แม่ เป็น
ต้น

4. ภาษาไทย แสดงลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับรสอาหาร เช่น รสหวาน รสขม รสจืด
5. ภาษาไทยมีคำที่มีความหมายเฉพาะสื่อสารเป็นที่เข้าใจ
ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม
ภาษาถิ่นที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้แบ่งวัฒนธรรมเป็น 4 สาขาดังนี้
1.วัฒนธรรมทางคติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในเรื่องจิตใจและศาสนา
2.วัฒนธรรมทางเนติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางกฎ ระเบียบประเพณี กฎหมายที่ยอมรับนับถือกัน
3.วัฒนธรรมทางวัตถุธรรม เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การกินดีอยู่ดี
4.วัฒนธรรมทางสหธรรม เป็นวัฒนธรรมทางสังคมเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อ
กัน รวมทั้งระเบียบมารยาทที่จะติดต่อกันเกี่ยวกับสังคมอีกด้วย

มนุษย์กับภาษา

มนุษย์กับภาษาความสำคัญของภาษา
1. ภาษาช่วยธำรงสังคม การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นจะมีความสุขได้ต้องรู้จักใช้
ภาษาแสดงไมตรีจิตความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน แสดงกฎเกณฑ์ทางสังคมที่จะปฏิบัติร่วมกัน การประพฤติ
ตนให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในสังคมนั้น ๆ ทำให้สามารถธำรงสังคมนั้นอยู่ได้ ไม่ปั่นป่วนและ
วุ่นวายถึงกับสลายตัวไปในที่สุด

2. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล คือ แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลให้เห็นว่า
บุคคลมีอุปนิสัย รสนิยม สติปัญญา ความคิดและความอ่านแตกต่างกันไป

3. ภาษาช่วยพัฒนามนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ให้แก่
กันและกัน ทำให้มนุษย์มีความรู้กว้างขวางมากขึ้นและเป็นรากฐานในการคิดใหม่ ๆ เพื่อทำให้ชีวิตความ
เป็นอยู่และสังคมมนุษย์พัฒนาเจริญขึ้นตามลำดับ

4. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต การใช้ภาษาในการกำหนดอนาคต เช่น การวางแผน การทำสัญญา
การพิพากษา การพยากรณ์ การกำหนดการต่าง ๆ

5. ภาษาช่วยจรรโลงใจ ทำให้เกิดความชื่นบาน มนุษย์พอใจที่อยากจะได้ยินเสียงไพเราะ จึงได้มี
การนำภาษาไปเรียบเรียงเป็นคำประพันธ์ที่มีสัมผัสอันไพเราะก่อให้เกิดความชื่นบานในจิตใจ และสามารถเล่นความหมายของคำในภาษาควบคู่ไปกับการเล่นเสียงสัมผัสได้
จึงทำให้เกิดคำคม คำผวน สำนวน ภาษิตและการแปลงคำขวัญ เพื่อให้เกิดสำนวนที่น่าฟัง ไพเราะและสนุกสนานไปกับภาษาด้วย
อิทธิพลของภาษาต่อมนุษย์อิทธิพลของภาษาต่อมนุษย์ไม่ใช่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนสิ่งต่างๆ เท่านั้น แต่มนุษย์เชื่อว่าคำบางคำศักดิ์สิทธิ์ประกอบเป็นคาถาแล้วสามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ เช่น เชื่อว่าต้นไม้บางชนิดมีชื่อพ้องกับสิ่งมีค่ามีมงคล หรือคำบางคำใช้เรียกให้เพราะขึ้น ในขณะที่บางคำกลับเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ

ธรรมชาติของภาษา

ธรรมชาติของภาษา
1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย ซึ่งต้องประกอบด้วยหน่วยเสียง ( เป็นหน่วยในภาษา ) และความหมาย
ความหมายของภาษามี 2 อย่าง คือ

1. ความหมายอย่างกว้าง ภาษา หมายถึง การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายโดยมีระบบกฎเกณฑ์
เข้าใจกันระหว่างสองฝ่าย อาจจะเป็นการแสดงออกทางเสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่าง และอาจ
เป็นการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์ก็ได้

2. ความหมายอย่างแคบ ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย
2. เสียงกับความหมายมีความสัมพันธ์กัน มีสาเหตุเกิดจากการเลียนเสียงจากธรรมชาติ เช่น
1. เกิดจากการเลียงเสียงจากสิ่งต่าง ๆ เช่น เพล้ง , โครม , ปัง เป็นต้น
2. เกิดจากการเลียนเสียงของสัตว์ เช่น แมว , ตุ๊กแก
3. เกิดจากการเลียนเสียงจากสิ่งสิ่งนั้น เช่น หวูด , ออด
4. เกิดจากเสียงสระหรือพยัญชนะที่มีความสัมพันธ์กับความหมาย เช่น เซ , เป๋ มีความหมายว่า ไม่
ตรง (แต่เป็นเพียงส่วนน้อยในภาษาเท่านั้น)

5. ภาษาถิ่นบางถิ่นจะมีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย เช่น สระเอาะ หรือ ออ ภาษาถิ่นบางถิ่นจะบอก
ความหมายว่าเป็นขนาดเล็ก ดังเช่น จ่อว่อ หมายถึง เล็ก , โจ่โว่ หมายถึง ใหญ่ เป็นต้น

3. เสียงกับความหมายไม่สัมพันธ์กัน เช่น เด็ก น้อย เดิน เสียงจะไม่สัมพันธ์กัน แต่เราก็รู้ว่า "เด็ก"
หมายถึง คนที่มีอายุน้อย "น้อย" หมายถึง เล็ก และ "เดิน" หมายถึง การยกเท้าก้าวไป เป็นการตกลงกัน
ของคนที่ใช้เสียงนั้น ๆ ว่าจะให้มีความหมายเป็นอย่างไร

4. หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นพยางค์ที่ใหญ่ขึ้นหน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบของภาษา ได้แก่ เสียง คำ และประโยค ซึ่งเราสามารถนำ
เสียงที่มีอยู่อย่างจำกัดมาสร้างคำได้เพิ่มขึ้น และนำคำมาสร้างเป็นประโยคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น ฉันกิน
ข้าว อาจจะเพิ่มคำเป็น "ฉันกินข้าวผัดกะเพรา" เป็นต้น

5. ภาษามีการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของภาษามีสาเหตุ ดังนี้
1. การพูดจาในชีวิตประจำวัน
- การกร่อนเสียงพยางค์หน้า เช่น หมากขาม เป็น มะขาม สาวใภ้ เป็นสะใภ้
- ตัวอัพภาส เป็นการตัดเสียง หรือ การกร่อนจากตัวที่ซ้ำกัน เช่น ยับยับ เป็น ยะยับ
วิบวิบ เป็น วะวิบ รี่รี่ เป็น ระรี่
- การกลมกลืนของเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง ดิฉัน เป็น เดี๊ยน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง

2. อิทธิพลของภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษจะมีอิทธิพลมากที่สุด มีการยืมคำ และประโยคมาใช้ทำ
2
ให้เป็นเกิดเป็นสำนวนต่างประเทศ และมีการดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับลักษณะภาษาไทย

3. ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น กระบวนการความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น
เป็นสาเหตุให้เกิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ตามมามากขึ้นตามยุคตามสมัยปัจจุบัน ส่วนคำที่ใช้มาแต่เดิม
อาจจะสูญหายไปซึ่งคนสมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก เช่น ดงข้าว หรือ เกิดศัพท์ใหม่แทนของเก่า เช่น
ถนน เป็น ทางด่วน บ้าน เป็น คอนโด ทาวเฮาส์ ฯลฯ

4. การเรียนภาษาของเด็ก ภาษาของเด็กเมื่อเริ่มเรียนรู้ภาษาเด็กจะปรุงเป็นภาษาของเด็กเอง ซึ่งไม่
เหมือนกับภาษาของผู้ใหญ่ ใช้คำไม่ตรงกัน ออกเสียงไม่ตรงกัน ความหมายจึงไม่ตรงกับผู้ใหญ่
เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะสืบทอดภาษาต่อไปได้อีกทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปได้
6. ลักษณะที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของภาษา

ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
1. ใช้เสียงสื่อความหมาย มีทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ
2. มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ได้แก่ คำประสม , คำซ้ำ
3. มีสำนวน มีการใช้คำในความหมายเดียวกัน
4. มีคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำขยาย
5. สามารถขยายประโยคเพื่อให้ยาวออกไปเรื่อย ๆ ได้
6. มีการแสดงความคิดต่าง ๆ เช่น ประโยคคำถาม ประโยคคำตอบ ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำสั่ง
7. สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ลักษณะที่แตกต่างกัน
1. เสียงในภาษาอังกฤษมีเสียง G , Z แต่ในภาษาไทยไม่มี
2. ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ในประโยค ส่วนภาษาอื่นไม่มี
3. ไวยากรณ์ ภาษาไทยเรียงประโยคจาก ประธาน + กริยา + กรรม แต่ภาษาอื่นเรียงสลับกันได้
7. ลักษณะของภาษาในการสื่อสาร

1. วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร
2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร ได้แก่- กริยา ท่าทาง สีหน้า สายตา เสียง(ปริภาษา)
- สัญญาณ สัญลักษณ์ (รวมถึงอักษร)
- การสัมผัส (ผัสภาษา/สัมผัสภาษา)
- ลักษณะทางกายภาพ(ภาษาวัตถุ/กายภาษา)
- ระยะห่าง(เทศภาษา)
- เวลา(กาลภาษา)
- กลิ่น รส ภาพ สี ลักษณะตัวอักษร